unseen พนมรุ้ง

ไทยแลนด์คอนเน็กซ์ ขอเป็น 1 ในเสียงประชาสัมพันธ์ให้กับปรากฏการณ์ Unseen พิเศษที่ 1 ปีมีเพียง 4 ครั้งเท่านั้น กับ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรีมย์ กับปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้น-ตกสาดส่อง ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งตอนนี้เป็นครั้งที่ 3 ของปี โดยปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้น วันที่ 8-10 กันยายน เวลาประมาณ 05.57 น.แต่สภาพอากาศในละวันก็มีผลต่อการชมปรากฏการณ์ดังกล่าวด้วยเช่นกัน หากมีเมฆมาก หรือฝนตก อาจไม่สามารถชมปรากฏการณ์ดังกล่าวได้

พนมรุ้ง 1นอกจากปรากฏการณ์ดังกล่าวแล้ว เชื่อว่าหลายๆท่านน่าจะรู้จักโบราณสถานแห่งนี้กันพอสมควร จากเรื่องของประติมากรรม ทับหลังรารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่มีประเด็นเป็นข่าวกันอยู่ช่วงหนึ่งด้วย แต่ประวัติส่วนอื่นๆอาจจะไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก มาทำความรู้จักสถานที่แห่งนี้เพิ่มเติมกันก่อนเตรียมตัวไปชมปรากฏการณ์นี้กัน

พนมรุ้ง 2ปราสาทพนมรุ้ง เป็นโบราณสถานรูปแบบศิลปะเขมรโบราณที่มีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ครบเครื่องทั้งงานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ภาพสลัก และความพิเศษในการเลือกทำเลที่ตั้งบนยอดเขาซึ่งมีแผนผังตามแนวแกนที่มีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้างต่างๆ เรียงตัวกันเป็นแนวเส้นตรงพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน ปราสาทพนมรุ้ง ไม่ได้สร้างขึ้นมาพร้อมกันทั้งหมดในคราวเดียวกัน ในช่วงแรกได้มีการสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อทางศาสนาของชุมชนในพุทธศตวรรษที่ 15 ได้แก่ ปราสาทอิฐ 2 หลัง ที่ปัจจุบันเหลือเพียงฐานและกรอบประตู ส่วนของปราสาทประธานสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 งานศิลปกรรมส่วนต่างๆสื่อว่า เทวสถานแห่งนี้สร้างเพื่อเป็นเทวาลัยของพระศิวะ มีศิวลึงค์เป็นองค์ประธานและยังมีการนับถือเทพองค์อื่น ๆ แต่อยู่ในสถานะเทพชั้นรอง

พนมรุ้ง 3กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 ต่อมามีการดำเนินการบูรณะปราสาทพนมรุ้ง ด้วยวิธี “อนัสติโลซิส” (Anastylosis คือการนำชิ้นส่วนของปราสาทกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม)ในปี พ.ส. 2514 และเปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 

ผู้ ป ร ะ ก อ บ ก า ร อุ ต ส า ห ก ร ร ม ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ ห่ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย   ส า ม า ร ถ ร่ ว ม เ ป็ น ส่ ว น ห นึ่ ง ใ น แ พ ล ต ฟ อ ร์ ม ThailandCONNEX เ พื่ อ เ ป็ น อี ก ช่ อ ง ท า ง โ ป ร โ ม ท อุ ต ส า ห ก ร ร ม ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ ห่ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ใ ห้ เ ป็ น ที่ รู้ จั ก แ ล ะ เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ ง่ า ย ยิ่ ง ก ว่ า เ ดิ ม   ไ ด้ แ ล้ ว วั น นี้

Leave a Comment:

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *