วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ ที่หลายๆคนน่าจะคุ้นเคยจาก "เสาชิงช้า" ซึ่งตั้งอยู่หน้าวัดเลย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8
.
สร้างขึ้นในต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างวัดขึ้นในพื้นที่พระนครชั้นใน ในปี พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” ในส่วนของพระวิหารสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต, วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า "วัดสุทัศนเทพวราราม"
.
นอกจากเรื่องของเสาชิงช้า เชื่อว่าสิ่งที่ทำให้หลายๆคนได้ยินหรือได้รู้จักชื่อวัดแห่งนี้ คงจะมาจาก เรื่องราวของ "เปรตวัดสุทัศน์" ที่มีทั้งในส่วนของเรื่องเล่าสืบต่อกันมา มีการนำมาทำเป็นละคร โดยมีเรื่องเล่าของเปรต สัตว์ที่เกิดในอบายภูมิตามความเชื่อของพุทธศาสนาและชาวไทย ว่ามีเปรตเคยปรากฏอยู่ที่นี่ โดยเรื่องนี้อาจมีที่มาจากภายในพระวิหารมีภาพวาดบนเสาด้านข้างขององค์พระศรีศากยมุนี เป็นภาพจิตรกรรมที่วาดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรูปหนึ่งเป็นรูปเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายอยู่และมีพระสงฆ์กำลังยืนพิจารณาสังขาร ซึ่งภาพนี้มีชื่อเสียงมากในสมัยอดีต เป็นที่ร่ำลือกันว่าหากใครได้มีโอกาสไปกราบไหว้พระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวง ต้องไปดูรูปจิตรกรรม "เปรตวัดสุทัศน์" ที่ขึ้นชื่อนี้ จนมีคำกล่าวคล้องจองกันว่า "แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์"

.

ผู้ ป ร ะ ก อ บ ก า ร อุ ต ส า ห ก ร ร ม ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ ห่ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย   ส า ม า ร ถ ร่ ว ม เ ป็ น ส่ ว น ห นึ่ ง ใ น แ พ ล ต ฟ อ ร์ ม ThailandCONNEX เ พื่ อ เ ป็ น อี ก ช่ อ ง ท า ง โ ป ร โ ม ท อุ ต ส า ห ก ร ร ม ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว แ ห่ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ใ ห้ เ ป็ น ที่ รู้ จั ก แ ล ะ เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ ง่ า ย ยิ่ ง ก ว่ า เ ดิ ม   ไ ด้ แ ล้ ว วั น นี้

Leave a Comment:

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *